สาระน่ารู้ » คุ้มเจ้าหลวง

คุ้มเจ้าหลวง

1 ธันวาคม 2017
352   0

คุ้มเจ้าหลวง ตั้งอยู่ที่ในเขตกำแพงเมืองเก่าแพร่ ตำบลในเวียง อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ คุ้มแห่งนี้เป็นอาคารโอ่โถง มีประตู หน้าต่างทั้งหมด 72 บาน งดงามด้วยลวดลายฉลุไม้อยู่ด้านบนปั้นลม และชายคาน้ำ เป็นสถาปัตยกรรมสมัยรัชกาลที่ 5 ยุคต้น ซึ่งมีรูปทรงเป็นแบบสถาปัตยกรรมไทยผสมยุโรป หรือทรงขนมปังขิง ซึ่งเป็นที่นิยมในสมัยนั้น   หลังคามุงด้วยไม้เรียกว่า “ไม้แป้นเกล็ด” ไม่มีหน้าจั่วเป็นแบบหลังคาเรือนปั้นหยามีมุขสี่เหลี่ยมยื่นออกมา ด้านหน้าของตัวอาคารหลังคามุขมีรูปทรงสามเหลี่ยมทั้งปั้นลมและ ชายคาน้ำรอบตัวอาคารประดับด้วยไม้แกะ ฉลุสลักลวดลายอย่าง สวยงามซึ่งเป็นฝีช่างชาวจีนที่มีชื่อเสียงในสมัยนั้นมุขด้านหน้าตัว อาคารแต่เดิมมีบันไดขึ้นลงทั้ง 2 ด้าน คือด้านทิศเหนือและด้านทิศใต้ (ปัจจุบันรื้อออกแล้ว)คงเหลือบันไดขึ้นลงเฉพาะด้านหน้าและด้านหลัง เท่านั้น ตัวอาคารสร้างด้วยอิฐถือปูน มี 2 ชั้น ไม่มีการฝังเสาเข็มแต่ใช ้ไม้ซุงท่อน ส่วนใหญ่เป็นไม้แก่น ไม้แดง และไม้เนื้อแข็ง รองรับฐานเสาทั้งหลัง ภายใต้ตัวอาคารซึ่งสูงจากพื้นดินประมาณ 2 เมตร คุ้มเจ้าหลวงแห่งนี้เคยใช้เป็นที่ประทับแรมของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและ สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ เมื่อคราวที่เสด็จมาเยี่ยมเยียนราษฎรจังหวัดแพร่ ในระหว่างวันที่ 15 – 17 มีนาคม พ.ศ. 2501และได้รับพระราชทาน รางวัล จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารีให้เป็นสถาปัตยกรรมดีเด่นประเภท อาคารสถาบันและสาธารณะ ซึ่งภายในก็จะมีแท่นบรรทมของพระองค์รวมอยู่ด้านใน

ภายใต้ตัวอาคารซึ่งสูงจากพื้นดินประมาณ 2 เมตร มีห้องสำหรับคุมขัง ข้าทาส บริวาร ซึ่งกระทำความผิด จำนวน 3 ห้อง ห้องกลาง เป็นห้องทึบ แสงสว่างสาดส่องเข้าไปไม่ได้เลย ใช้เป็นที่คุมขังข้าทาสบริวารที่กระทำความผิดร้ายแรง ส่วนอีก 2 ห้อง ปีกซ้ายและปีกขวา มีช่องแสง ให้แสงสว่างเข้าไปได้บ้าง ใช้เป็นที่คุมขังผู้มีความผิดชั้นลหุโทษ เป็นเวลายาวนานกว่า 50 ปี จนกระทั่ง พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ประกาศเลิกทาส คุกทาสจึงกลายมาเป็นที่คุมขังนักโทษทั่ว ๆ ไปของเจ้าหลวงหรือข้าหลวง ในสมัยต่อ ๆ มา ต่อมามีการสร้างเรือนจำเมืองแพร่ขึ้นใหม่ คุกแห่งนี้จึงว่างลง หลงเหลือไว้เพียงตำนาน  สำหรับการเข้าชมในคุกใต้ดิน นั้น เขามีเคล็ดอยู่ว่า อย่าเดินหน้าหันหน้าเข้าคุกแต่ให้เดินถอยหลังเข้าคุกแทน ส่วนตอนออกก็เดินหน้าออกมาอย่าหันหลังไปมองคุก เพราะอาจจะทำให้ต้องโทษเข้าคุกในอนาคตได้  คุ้มเจ้าหลวงถือเป็นอีกหนึ่งมนต์เสน่ห์แห่งเรือนเก่าในเมืองแพร่ ที่ไม่ควรพลาดแวะมา เที่ยวชมสถาปัยกรรมเก่าแก่แห่งนี้

ปัจจุบัน คุ้มเจ้าหลวง เปิดให้เป็นพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ของนักเรียน นิสิต นักศึกษา และประชาชนทั่วไป เข้าชมเพื่อศึกษาประวัติความ เป็นมา โดยไม่เสียค่าเข้าชม เปิดทุกวันตั้งแต่เวลา  08.30 – 17.00 น.

การเดินทางไปคุ้มเจ้าหลว
จากทางหลวงหมายเลข 101 เข้าตัวเมืองแพร่ (ถนนยันตรกิจโกศล) ตรงขึ้นไปแล้วเลี้ยวซ้ายเข้าถนนเจริญเมืองไปประมาณ 1.2 กิโลเมตร จนถึงวงเวียนให้เลี้ยวซ้ายเข้าถนนคุ้มเดิมอีกประมาณ 100 เมตร ทางด้านขวามือจะถึงคุ้มเจ้าหลวงเมืองแพร่ ซึ่งตั้งอยู่ตรง ข้ามโรงเรียนนารีรัตน์ หรือหากใช้ทางหลวงหมายเลข 1023 จากลำปางเข้ามาทางอำเภอลอง ให้เลี้ยวซ้ายเข้าถนนเหมืองหิต ไปประมาณ 700 เมตร แล้วเลี้ยวขวาเข้าถนนคุ้มเดิม ตรงขึ้นไปประมาณ 700 เมตร ทางด้านซ้ายมือก็จะถึงคุ้มเจ้าหลวงเมืองแพร่ ได้เช่นกัน

แหล่งที่มา…..http://www.paiduaykan.com/province/north/phrae/khumchaoluang.html